นักดับเพลิง กับ สารเคมีเมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นวัตถุอันตราย

Last updated: 15 ต.ค. 2561  |  3871 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นักดับเพลิง กับ สารเคมีอันตราย

 

เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ โรงงานอุตสาหกรรม ห้างร้าน บริษัท ที่มีการสต๊อกสินค้า หรือ สารเคมีไว้

นักดับเพลิงที่เข้าระงับเหตุ ควรเข้าถึงข้อมูลถึงการแปรเปลี่ยนสภาพของสารเคมี หรือ อุปกรณ์ที่เก็บ

ในโรงงาน หรือ Warehouse นั้นๆ เพราะว่าสารเคมมีบางประเภท จะเปลี่ยนสภาพ เป็นสารเคมี

อันตราย เมื่อโดนความร้อน โดนน้ำ โดน CO2 หรือ โดนไฟไหม้ เป็นต้น


   สารเคมี A + H2O = ก๊าซอันตราย

   สารเคมี B + Heat + H2O = ของเหลว อันตราย

   สารเคมี C + H2O = เกิดการระเบิด (เช่น Na )

 

เพราะฉะนั้น ในการเข้าดับเพลิงทุกครั้ง ควรรับทราบถึงข้อมูล วัสดุ ต่างๆ ที่มีในโรงงาน และ เตรียม

ชุดป้องกันสารเคมี ให้เหมาะสมกับหน้างานนั้น

 

 

สารเคมีอันตราย วัตถุอันตราย สารอันตราย หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบ ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อคน สัตว์ พืช และทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม สามารถจำแนกได้เป็น 9 ประเภท ดังนี้



   ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด

   ประเภทที่ 2 ก๊าซ

   ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ

   ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ

   ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดส์และออร์แกนิคเปอร์ออกไซค์

   ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ

   ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี

   ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อน

   ประเภทที่ 9 วัตถุอื่นๆที่เป็นอันตราย

ทราบว่าเป็นสารอันตรายได้อย่างไร

เราสามารถทราบว่าสารเคมีที่พบเห็นว่าเป็นสารอันตรายหรือไม่โดยการสังเกตุฉลากหรือเครื่องหมาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายสากล ที่ติดบนภาชนะบรรจุ ถังเหล็ก แท็งค์ หรือป้ายที่ติดบนรถยนต์หรือรถบรรทุก

สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

  1.การหายใจ สารเคมีเข้าสู่ร่างกายในรูปของไอระเหย  ก๊าซ ละออง หรือ อนุภาค เมื่อสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำลายระบบทางเดินหายใจ เข้าสู่ปอด กระแสเลือดแล้วทำลายอวัยวะภายใน

  2.ดูดซึมผ่านผิวหนัง โดยการจับหรือสัมผัสสารพิษ อาจมีผลค่อนข้างน้อยทำให้มีอาการวิงเวียน อาเจียน หรือถึงขั้นรุนแรงอาจตายได้

  3.การกินเข้าไป หากสารที่กินเข้าไปมีฤทธิ์กัดกร่อน จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร สารที่ไม่ละลายอาจถูกขับออก ส่วนที่ละลายได้ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ความเป็นพิษก็ขึ้นกับชนิดและปริมาณของสารที่กินเข้าไป

ป้องกันตนเองจากสารเคมีอันตรายได้อย่างไร

  1.ไม่สัมผัสภาชนะบรรจุที่ชำรุดหรือสารที่รั่วไหล

  2.อย่าเข้าใกล้แนวกั้นเขตอันตราย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะกั้นแนวเขตไม่น้อยกว่า 50-75 เมตร

  3.อยู่เหนือลมหรือที่สูง หรือออกจากบริเวณที่เกิดเหตุทันที

ประสบเหตุอุบัติภัยจากสารเคมีต้องทำอย่างไร

  1.พยายามสังเกตุ จำแนกสารเคมีดังกล่าวว่าเป็นสารเคมีชนิดไหน โดยพิจารณาจากฉลากหรือแผ่นป้ายสัญญลักษณ์ที่ระบุข้างภาชนะบรรจุ ชื่อบริษัทผู้ขนส่ง

  2.พยายามอย่าทำให้สารเคมีกระจายตัว ขยายวงกว้างออกไป เช่น การล้างภาชนะหรือบริเวณที่มีการหก และห้ามทำให้เกิดประกายไฟใดๆ เพราะอาจมีไอระเหยของสารเคมีที่สามารถจุดติดไฟได้

  3.โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่เบอร์ฉุกเฉิน 199 โดยแจ้งข้อมูล สถานที่เกิดเหตุ ชนิด/ประเภทของสารเคมี(หากทราบ) จำนวนปริมาณของสารเคมี สภาพแวดล้อมใกล้เคียงเช่น มีแหล่งน้ำ โรงพยาบาล โรงเรียน และชุมชนอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่

ช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างไร

  1.เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์

  2.ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออก และแยกใส่ถุงหรือภาชนะต่างหาก

  3.หากสัมผัสสารให้ล้างด้วยน้ำ อย่างน้อย 15 นาที แล้วนำไปพบแพทย์

 ทั้งนี้การให้ความช่วยเหลือจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ให้ความช่วยเหลือเป็นสำคัญ หากไม่แน่ใจให้รีบติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเร็วที่สุด

  

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้